วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

พระเจ้าอู่ทอง


พระราชประวัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)


พระราชประวัติ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง องค์นี้ เป็นพระโอรสของพระเจ้าศิริชัย หรือ ศรีวิชัย สมภพ เมื่อ (จากหมายเหตุโหร) วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ. 676 พ.ศ.1857 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.1856)เวลารุ่งเช้า                                      ปลายรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย
เรื่องราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองนั้น มีความสันนิษฐานสรุปไว้เบื้องต้นว่า พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์จากแคว้นโยนกเชียงแสน ซึ่งครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) นั้นได้พาครอบครัวและเชื้อพระวงศ์ทิ้งเมืองอพยพหนี เนื่องจากพวกมอญได้ยกทัพมาตีและเข้าเผาทำลายบ้านเมืองจนร้าง บรรดาไพร่พลและเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาทางตอนใต้นั้น ได้พากันแยกย้ายไปตั้งเมืองของตนอยู่ในแคว้นต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ กล่าวคือ ขณะนั้นได้มีคนไทยชาวอพยพ พากันลงมาทำมาหากิน อยู่ตามเมืองต่าง ๆ มากแล้ว เมืองที่คนไทยมาอาศัยอยู่นั้นมีเมืองใหญ่ 2 แห่ง คือ เมืองอโยธยา ในแคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง ในแคว้นสุวรรณภูมิ ต่อมาพวกขอมได้ขยายอำนาจเข้ามาปกครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยอาณาจักรทวาราวดี จึงตั้งศูนย์กลางดูแลอยู่ที่ เมืองละโว้ จึงทำให้บรรดาคนไทยที่อยู่ในเมืองอโยธยา เมืองละโว้ ดังกล่าวนั้นอยู่ในความดูแลของพวกขอม ที่ครองเมืองละโว้ไปด้วย ครั้นเมื่อคนไทยทางตอนเหนือนำโดยพ่อขุนบางกลาวหาว และขุนผาเมือง ได้ร่วมกันทำการขับไล่อำนาจขอม จากขอมสบาดโขลญลำพง และทำการตั้งเมืองสุโขทัยประกาศตนเป็นแคว้นอิสระ เมื่อ พ.ศ. 1800 นั้น เมืองสุโขทัยได้จัดตั้งแคว้นต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของขอมใหม่ เป็นเมืองพระยามหานคร คือเป็นเมืองที่มีเจ้าครองเมือง
เมืองพระยามหานคร ในดินแดนทางตอนใต้นั้น คือ แคว้นอโยธยา มีเมืองแพรกหรือเมืองสรรค์(เมืองตรัยตรึงส์) เป็นราชธานี (เดิมนั้นเมืองอโยธยาขึ้นกับเมืองละโว้) และแคว้นสุวรรณภูมิ มีเมืองอู่ทอง เป็นราชธานี
เจ้าผู้ครองแคว้นดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาพร้อมกับพระเจ้าไชยศิริ โดยพระเจ้าไชยศิรินั้นได้อพยพมาตั้งอยู่ที่เมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้าง (เมืองร้างนี้ น่าจะเป็นเมืองนครปฐมโบราณมากกว่าเมืองเก่าทางเมืองกำแพงเพชร) อยู่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอู่ทอง ที่เป็นราชธานี
ต่อมานั้น พระเจ้าไชยศิริได้ทำการขยายอาณาเขตไปทางตอนใต้ จนได้ปกครองแคว้น ศิริธรรมราชครั้งนั้น พระเจ้าไชยศิริได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) ขึ้นเป็นราชธานีปกครองแคว้นดังกล่าว โดยมีกษัตริย์ครองแคว้นศิริธรรมราชต่อมาหลายรัชกาล จนถึง พระเจ้าศิริธรรมราชผู้เป็นพระอัยการของพระเจ้าอู่ทอง
พระเจ้าศิริธรรมราช นั้น มีพระโอรสชื่อ พระเจ้าศิริชัย (หรือศรีวิชัย) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.1856 นั้น พระเจ้าศิริชัยองค์นี้ได้อภิเษกกับพระธิดาองค์เดียวของ พระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์ครองแคว้นอโยธยา (มีราชธานีอยู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ คือ เมืองตรัยตรึงส์ และเมืองอโยธยา เป็นเมืองท่า) ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับอาณาจักรละโว้ของขอม ต่อมาพระเจ้าชัยศิริเชียงแสนนั้นมีพระโอรสระยะแรกไม่ปรากฏ ภายหลังเรียก พระเจ้าอู่ทอง                                                      (หลังจากที่อภิเษกและไปอยู่เมืองอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ)
ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงเป็นนามมงคลที่เกิดขึ้นในธรรมเนียมของ แคว้นสุวรรณภูมิ และพระเจ้าอู่ทององค์นี้เป็นทายาทที่สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์ราชวงศ์ชัยปรากการ (เชียงราย) มาจนถึง พระเจ้าศิริชัยหรือศรีวิชัย

พระเจ้าศิริชัย องค์นี้ครองอยู่แคว้นศิริธรรมราช ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ครั้นเมื่อพระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์แคว้นอโยธยา ผู้เป็นพระบิดาของพระมเหสีนั้นได้สิ้นพระชนม์ ลง พระเจ้าศิริชัยเชียงแสนจึงได้ครองแคว้นอโยธยาด้วย


เมื่อพระเจ้าอู่ทอง มีพระชนม์ 19 พรรษา (ราว พ.ศ.1876) นั้น พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน พระบิดาจึงได้สู่ขอพระธิดาของพระยาอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ มาอภิเษกสมรส และพระเจ้าชัยศิริเชียงแสน ยอมให้พระเจ้าอู่ทองไปอยู่ช่วยราชการที่เมืองอู่ทองนั้น น่าจะมีเหตุให้ช่วยดูแล แคว้นอโยธยาด้วย ด้วยเหตุที่พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ช่วยเหลือราชการบ้านเมืองและไว้วางใจในความสามารถ ทำให้พระยาอู่ทอง ไว้วางใจยิ่ง ส่วนขุนหลวงพะงั่ว พระโอรสของพระยาอู่ทอง และพระเชษฐาของพระมเหสีของพระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะครองเมืองสรรค์บุรีอยู่
ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมิ่ง เจ้าเมืองมอญได้ยกทัพมาตีเอาเมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี ครั้งนั้น พระเจ้าอู่ทองจึงได้แสดงความสามารถนำทัพไปตีเอาเมืองทวาย กับเมืองตะนาวศรี กลับคืนมาได้ ทำให้ได้รับการยกย่องรักใคร่ของอาณาประชาราษฎร์ ครั้นเมื่อพระยาอู่ทอง กษัตริย์แคว้นสุวรรรภูมิสิ้นพระชนม์ลงราษฎร์จึงพากันยกให้พระเจ้าอู่ทอง ขณะนั้นมีพระชนม์พรรษา 30 ปี ครองแคว้นสุวรรณภูมิต่อมา (ทำไมขุนหลวงพระงั่ว ไม่ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ)
ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยสิริเชียงแสน พระบิดาสิ้นพระชนม์ลงอีก พระเจ้าอู่ทอง พระโอรสจึงได้ครองแคว้นศิริธรรมราชและแคว้นอโยธยา ในที่สุด และรวมทั้งแคว้นสุวรรณภูมิ ด้วย (ภายหลังโปรดให้ ขุนหลวงพะงั่ว ครองเมืองสุพรรณบุรี) ถือว่าเป็นการรวบรวมอาณาจักรทั้งสามแคว้นขึ้นเป็นอาณาจักร โดยใช้เมืองอู่ทอง เป็นราชธานี ตามเดิม ซึ่งมีความหมายว่า สุวรรณภูมิ โดยมีแม่นำสายใหญ่ คือ แม่น้ำท่าจีนเป็นทางออกสู่ทะเลที่เมืองนครปฐมโบราณ โดยเป็นเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บริเวณเมืองอู่ทองหรือแคว้นสุวรรณภูมิ จึงเป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของแคว้นสุพรรณภูมิ ที่มีพ่อค้าชาวจีนเดินทางไปมาค้าขายและตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน




พระเจ้าอู่ทองนั้นมีพระโอรสองค์หนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อในตอนแรก ภายหลังได้ เป็นพระราเมศวร ตำแหน่งพระอุปราชต่อมา พระเจ้าอู่ทองนั้น ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองอู่ทอง (บ้างอ้างว่ากันดารน้ำและเกิดโรคระบาด) มาตั้งอยู่ที่ตำบล เวียงเหล็ก พออยู่ได้ 3 ปี ใน พ.ศ.1893 จึงย้ายสถานที่ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาไปทำการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ตำบลหนองโสน
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้ระบุว่า เมื่อ พ.ศ.1893 นั้น ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ (อาจจะเป็นอหิวาตกโรคหรือ กาฬโรค เพราะระหว่างปี พ.ศ.1878 – 1893 (ค.ศ.1335 – 1350 ) ได้เกิดกาฬโรคโคจรจากเมืองจีน และได้ระบาดไปทั่วโลก) ทำให้ต้องมีการย้ายเมืองจากด้านตะวันออกมาสร้างใหม่ที่หนองโสน ส่วนเหตุที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองจากตำบลเวียงเหล็ก มาสร้างกรุงศรีอยุธยา นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ครองเมืองเทพนคร (เมืองอโยธยา) อยู่ 6 ปีด้วย
ส่วนเรื่องที่รับรู้กันมาว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองครองเมืองอู่ทอง พ.ศ. 1889 นั้น พอครองเมืองได้ 1 ปี (พ.ศ.1890) ก็เกิดภาวะธรรมชาติกล่าวคือ ลำน้ำจระเข้สามพันที่ผ่านเมืองอู่ทอง นั้นได้เกิดตื้นเขิน และเปลี่ยนทางน้ำ จนกันดารน้ำต้องขุดบ่อ สระขังน้ำไว้ใช้ในไม่ช้าก็เกิดโรคระบาดดังกล่าวขึ้น (ซึงมาทางเรือสินค้าจากจีน) โดยเข้ามาตามแม่น้ำท่าจีน) พระเจ้าอู่ทอง จึงอพยพย้ายผู้คนมาตั้งเมืองอยู่บริเวณแคว้นอโยธยา คือ ตำบลเวียงเหล็ก เมื่อ พ.ศ.1890 และเมืองอู่ทองนั้น คงไม่ถูกทิ้งร้างยังมีผู้คนอาศัยอยู่ เป็นข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันเช่นนี้
ดังนั้น เรื่อง การย้ายเมืองของพระเจ้าอู่ทอง จึงมีข้อศึกษาใหม่ว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะดำริถึง อาณาจักรใหม่ที่พระองค์ได้รรับสิทธิปกครองดูแลนั้น คือ แคว้นสุวรรณภูมิ (ของมเหสี) แคว้นอโยธยา (ของมารดา) แคว้นศิริธรรมราช (ของบิดา) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นต่างมีเมืองสำคัญ ตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก หากจะให้เมืองอู่ทองเป็นราชธานีของแคว้นทั้งหมด ก็มีทำเลไม่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เมืองอู่ทองนั้น ไม่เป็นศูนย์กลางที่จะดูแลแคว้นนั้นได้สะดวก และมีแม่น้ำใหญ่เพียงสายเดียว ทำให้ขัดข้องในการติดต่อกับแคว้นอื่น ๆ ได้




พระองค์จึงได้ทำการอพยพ ผู้คนสำรวจสถานที่สร้างเมืองใหม่ขึ้น เพื่อหาทำเลที่จะตั้งเมือง ให้เป็นศูนย์กลางอาณาจักรที่สามารถปกครองดูแลหรือติดต่อถึงกันได้โดยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่มีแม่น้ำหลายสาย ไหลผ่านและใช้เป็นเส้นทางที่จะติดต่อไปยังเมืองใหญ่ของแคว้นทั้งหมดได้ คือ เมืองนครศิริธรรมราช(เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองอู่ทอง (ภายหลังย้ายมาสร้างเมืองสุพรรณบุรี) เมืองสรรค์บุรี (เมืองแพรก ) เมืองชัยนาท เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองนครไชยศรี) เป็นต้น
ประกอบกับเมืองอโยธยาเดิมนั้น มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านและเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ในครั้งแรกนั้นพระเจ้าอู่ทองได้กลับมาครองแคว้นอโยธยาอยู่ 6 ปี ก็เห็นว่าที่ตำบลเวียงเหล็ก นั้นน่าจะเป็นทำเลสร้างเมืองใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้ง 3 แคว้น นั้นได้ จึงอพยพไปตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็กก่อน (ส่วนเมืองอโยธยานั้นได้ให้เจ้าแก้วเจ้าไทย ครอง) ครั้นอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็ก 3 ปี จึงเห็นว่าบริเวณตำบลหนองโสนนั้น มีทำเลเหมาะสมกว่าและเป็นพื้นที่มีลักษณะเหมือนสังขทักษิณาวรรตที่มีแม่น้ำ 3 สายไหลออกดุจน้ำไหลออกจากสังข์ และเป็นแม่น้ำที่ใช้ เป็นเส้นทางติดต่อได้ สะดวกกว่าที่เดิม (เมืองอโยธยา) ประจวบกับเวลานั้นเกิดโรคอหิวาระบาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้เจ้าแก้วเจ้าไทยสิ้นพระชนม์ (จนเมืองอโยธยาร้างผู้คน) พระองค์จึงตัดสินพระทัยอพยพมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลหนองโสน